ภาษไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Computer Technology

 

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)
ตัวย่อภาษาไทย : วท.บ. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Computer Technology)
ตัวย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Computer Technology)

  สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
 
    1. เพื่อผลิตบัณฑิตปฏิบัติการ ที่มีความสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมี พื้นฐานในด้านการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์การจัดการระบบฐานข้อมูล
      เพื่อการจัดการ การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย รวมทั้งการเสนอ ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการออกแบบ  ติดตั้งและทดสอบ
    3. เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีกิจนิสัยในการค้นคว้าและปรับปรุง ตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ  สามารถแก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล  ปฏิบัติงานด้วยหลักวิชาการที่มีการวางแผนและควบคุมอย่างรอบคอบ  ซึ่งก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน
    4. เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยัน
      หมั่นเพียร  ความสำนึกในจรรยาบรรณแห่งอาชีพ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
      และสังคม
 

จะเปิดดำเนินการสอนตามหลักสูตร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550  เป็นต้นไป

 
    1. รับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายวิทย์- คณิต และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สายวิชาช่างอุตสาหกรรมหรือเทียบเท่า
    2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า  สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เข้าศึกษาโดยการ
      เทียบโอนหน่วยกิตจาก หลักสูตร 4 ปี
 

โดยวิธีการสอบคัดเลือกโดยระเบียบการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี              มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

 

การจัดการศึกษา

ใช้ระบบทวิภาคโดยในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น 2  ภาคการศึกษาปกติในภาคการศึกษาปกติ  มีเวลาศึกษา 16  สัปดาห์ และ สำหรับภาคการศึกษาฤดูร้อนมีเวลาศึกษา  8  สัปดาห์
การคิดหน่วยกิต

1.  วิชาภาคทฤษฎี ใช้เวลาศึกษา 16 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ คิดเป็น 1 หน่วยกิต
2.  วิชาภาคปฏิบัติ ใช้เวลาศึกษา 32 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ คิดเป็น 1 หน่วยกิต
3.  การทำโครงงาน   การฝึกงาน หรือการฝึกภาคสนาม  ใช้เวลาทำงานหรือ ฝึกปฏิบัติ 144  ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ คิดเป็น 3 หน่วยกิต

  นักศึกษาลงทะเบียนเต็มเวลา ใช้ระยะเวลาการศึกษา 8 ภาคการศึกษาปกติ แต่ไม่เกิน 16 ภาคการศึกษาปกติ (8 ปีการศึกษา)
 

1.    การลงทะเบียนเรียนแบบเต็มเวลา ให้ลงทะเบียนได้ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และลงได้
ไม่เกิน 22   หน่วยกิต ต่อภาคการศึกษาปกติ
2.    การลงทะเบียนเรียนในการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้ลงทะเบียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

 

การวัดผลการศึกษา ให้ปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเรื่อง การวัดและประเมินผลการศึกษา การประเมินผลการศึกษาในแต่ละรายวิชา  ให้กำหนดเป็น
ระดับคะแนน ต่างๆ ซึ่งมีค่าระดับคะแนนต่อหน่วยกิตและผลการศึกษาดังต่อไปนี้

ระดับคะแนน
(Grade)

คะแนนต่อ
หน่วยกิต

ผลการศึกษา

                ก      หรือ       A

4

ดีเยี่ยม (Excellent)

                ข+     หรือ       B+

3.5

ดีมาก (Very Good)

                ข      หรือ       B

3

ดี (Good)

                ค+     หรือ       C+

2.5

ดีพอใช้ (Fairly Good)

                ค       หรือ      C

2

พอใช้ (Fair)

                ง+      หรือ      D+

1.5

อ่อน (Poor)

              ง       หรือ      D

1

อ่อนมาก (Very Poor)

                 ต      หรือ      F

0

ตก (Fail)

                 ถ      หรือ     W

-

ถอนรายวิชา (Withdrawn)

                ม.ส.   หรือ      I

-

ไม่สมบูรณ์ (Incomplete)

                พ.จ.   หรือ      S

-

พอใจ (Satisfactory)

                ม.จ.   หรือ      U

-

ไม่พอใจ (Unsatisfactory)

                ม.น.   หรือ     AU

-

ไม่นับหน่วยกิต (Audit)

 

  การสำเร็จการศึกษา  นักศึกษาต้องศึกษาครบทุกรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรผ่านเกณฑ์ประเมินรายวิชา  และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
 
  1. โครงสร้างหลักสูตร
    1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                                 32          หน่วยกิต
      1. กลุ่มวิชาภาษาไทย                                                               3           หน่วยกิต
      2. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ                                                         12          หน่วยกิต
      3.  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์                               9         หน่วยกิต
      4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                     6          หน่วยกิต
      5.  กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ                                           2          หน่วยกิต
    2. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                         99          หน่วยกิต
        1. กลุ่มวิชาแกน                                                           17          หน่วยกิต
        2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ                                                     67          หน่วยกิต
        3. กลุ่มวิชาชีพเลือก                                                   15          หน่วยกิต
    3. หมวดวิชาเลือกเสรี                                                                     6            หน่วยกิต
 

 

 

   
หน้าแรก - เกี่ยวกับสาขาวิชา - หลักสูตร - คณาจารย์ - นักศึกษา - โครงงาน - ติดต่อ